วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

น้ำมันปลา

น้ำมันปลา

ประโยชน์ของน้ำมันปลา

      น้ำมันปลาสกัดได้จากปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้

น้ำมัน ปลาต่างจากน้ำมันตับปลาตรงที่น้ำมันตับปลาสกัดจากตับของปลาทะเลบางชนิด ซึ่งมีวิตามิน A และ D ในปริมาณสูง จึงเหมาะสำหรับเสริมสร้างกระดูกและสายตา ซึ่งในน้ำมันปลามีน้อยกว่ามาก

ประโยชน์ ของน้ำมันปลา คือ ลดระดับไขมันในเลือด โดยเฉพาะลดไตรกลีเซอไรด์ และมีฤทธิ์ในการต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือดจึงช่วยให้ระบบหมุนเวียนโลหิตดี ขึ้น บำรุงสมองและระบบประสาทเหมาะสำหรับทารกจนถึงวัยเด็กที่สมองกำลังพัฒนาสติ ปัญญา และการเรียนรู้ การทำงานของสมองป้องกันความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ ต้านการอักเสบ เช่น ไขข้ออักเสบ โรคผิวหนังบางชนิด เพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการหอบหืด ภูมิแพ้ ช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันในระยะต้น

ขนาด รับประทาน สำหรับบุคคลทั่วไปทาน 1,000 มก./วัน เพื่อป้องกันไขมันในเลือดสูง และสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ หลอดเลือด หรือผู้ที่ต้องการลดระดับไขมันในเลือด ลดความดันโลหิต ลดระดับไตรกลีเซอไรด์ หรือผู้ที่มีปัญหาไขข้ออักเสบ ควรทาน 2,000-3,000 มก. ต่อวัน

ส่วนประกอบของน้ำมันปลา
      น้ำมันปลา (fish oil) เป็นน้ำมันที่สกัดได้จากเนื้อและหนังปลาทะเลน้ำลึกหลายชนิด เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล น้ำมันปลาที่สกัดได้เป็นไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ มีกรดไขมันเป็นองค์ประกอบหลายชนิด โดยมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงชนิดโอเมก้า-3 ที่สำคัญอยู่ 2 ชนิด คือ EPA (Eicosapentaenoic acid) และ DHA (Docosahexaenoic acid) กรดไขมันจำเป็นกลุ่มโอเมก้า-3 นี้ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ จำเป็นที่จะต้องได้รับจากอาหารเข้าไป กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 มีประโยชน์ต่อเซลล์สมอง ช่วยลดไขมันในเลือดโดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์และคลอเลสเตอรอลทำให้ช่วยลดความ เสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและอาการปวดเค้นหน้าอกได้ ลดภาวะการเกิดหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนดี และมีผลต่อกลไกการอักเสบต่างๆ ด้วย เช่น การปวดข้อเนื่องจากการอักเสบ

กรด โคโคซาเฮกซาอีโนอิก (DHA) - มีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองโดยเฉพาะด้านความจำและการเรียนรู้  สาร DHA ผ่านเข้าไปในสมองและเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดรต์ (Dendrite) ซึ่งจะทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้เกิดความจำและการเรียนรู้

สาร DHA มีมากในปลาทะเล (deep sea fish) เช่นปลาทูน่า ปลาโอลาย ปลาทู ฯลฯ การบริโภคปลาทะเลประมาณ 30 กรัมต่อวันและ 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ จะสามารถเพิ่มกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า-3 ในอาหารได้สูงถึง 0.2-5.0 กรัมต่อวันซึ่งหมายถึงได้รับสาร DHA สูงขึ้นด้วยเนื่องจากมีมากในกรดไขมันดังกล่าว

กรดไอโคซาเพนทาอีโนอิก (EPA) - คุณสมบัติทำลาย โคเลสเตอรอลในเส้นเลือด ซึ่งเป็นต้นเหตุของเส้นเลือดตีบตัน โรคหัวใจ ฯลฯ

EPA จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ การสังเคราะห์ Prostaglandin และลดการหลั่ง Serotonin ของเกร็ดเลือด ทำให้การรวมกลุ่มของเกร็ดเลือดลดลง ในระยะที่มีการบีบตัวของหลอดเลือดในสมอง ดังนั้นการให้ EPA จะสามารถลดอาการของไมเกรนลงได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามการใช้กรดไขมัน Omega-3 อาจจะมีปัญหาในผู้ที่ป่วยด้วยโรคบางประเภท เช่น ในกรณีของผู้ที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่ง Insulin (NIDDM) พบว่าอาจจะทำให้การ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทำไม่ได้ เนื่องจากเชื่อว่าจะเกิด Glycerol จากการย่อยสลายน้ำมันปลาผ่านเข้าสู่กระบวนการสร้าง Glucose (Gluconeogenesis) มากขึ้น ระดับ Glucose จึงสูงขึ้นถึงระดับที่ควบคุมไม่ได้



ลูกหัวดีพ่อแม่สร้างได้
“ในโลกที่มีการแข่งขันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พ่อแม่ผู้ปกครองต้องการเลี้ยงดูให้เด็กๆ ไม่เพียงแต่ให้มีสุขภาพแข็งแรงเท่านั้น  แต่ยังต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง  เพื่อให้พร้อมต่อโลกที่มีการแข่งขันสูง  โภชนาการที่ดีกว่า  และการบริโภคสารอาหารสำคัญอย่างพอเพียง  เป็นพื้นฐานสำคัญของพัฒนาการทางความคิดและผลการเรียนที่ดีของเด็ก...แล้วคุณล่ะ  เตรียมความพร้อมให้ลูกแล้วหรือยัง
วางรากฐานเสียตั้งแต่เริ่มต้น
ผล กระทบจากสารกระตุ้น เช่น แอลกอฮอล์หรือยา  และโภชนาการที่ไม่เพียงพอจะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กตั้งแต่อยู่ใน ครรภ์มารดา  เมื่อสมองและระบบประสาทส่วนกลางอยู่ระหว่างการพัฒนา  ซึ่งส่งผลในเวลาหลังคลอด  สมองของเด็กยังคงพัฒนาจนผ่านพ้นช่วงทารก  ภาวะสมดุลโภชนาการก็ยังคงมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการคิดเชิงบวกของเด็กมีประสิทธิภาพสูงสุด
OMEGA 3เพิ่มความฉลาด
จากงานวิจัยพบว่า โอเมก้า 3 ที่อยู่ในน้ำนมแม่นั้น เป็นหนึ่งในหลายๆเหตุผลที่ทำให้ผลการทดสอบทางด้านสติปัญญา (IQtests) ของเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมแม่นั้นดีกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผงดัดแปลงสำหรับทารก  ดังนั้น  คุณแม่ที่ทานอาหารจำพวกปลาหรือน้ำมันปลาบ่อยๆ น้ำนมก็จะมี DHA ในปริมาณสูงและนานกว่าคุณแม่ที่ทานอาหารจำพวกปลาเป็นครั้งคราว  ดังนั้น  เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อย  คุณแม่จำเป็นต้องรักษาระดับ DHA ในน้ำนมของตนเองให้สูง  จึงจะเป็นหลักประกันของทารกในครรภ์ว่าจะได้รับ DHA อย่างเพียงพอเช่นกัน         
การศึกษาบางชิ้นยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างระดับโอเมก้า 3 ที่ต่ำกับโรคที่เกิดจากการผิดปกติของระบบประสาทบางส่วน เช่น โรคสมาธิสั้น ,ไดเรคเซีย ,ไดแพร็กเซีย และออทิซึ่ม

ปริมาณในการรับประทานน้ำมันปลา
      ปริมาณกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 ที่ร่างกายต้องการต่อวัน คือ ประมาณ 250-300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับการรับประทานปลาทะเลสัปดาห์ละ 2 มื้อ ส่วนขนาดที่ใช้ในภาวะต่างๆ ต่างกัน เช่น ในการป้องกันโรคหัวใจและอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามเพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย ที่อาจเกิดจากการรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูง ให้แบ่งรับประทานเป็น 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ขนาดที่ใช้ในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือ 6,000 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นต้น

หญิงให้นมบุตรที่ รับประทานน้ำมันปลาไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อ เด็กที่ได้รับน้ำ นม ส่วนในเด็กเล็กไม่แนะนำให้รับประทานนำมันปลาในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากต้องการให้เด็กได้รับกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า-3 มากๆ ควรให้เด็กรับประทานในรูปอาหารดีกว่า

สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ ที่อาจเกิดจากการรับประทานน้ำมันปลาขนาดสูงเป็นเวลานาน มีดังต่อไปนี้

- ในผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทไม่พึ่งอินซูลิน อาจมีระดับน้ำตาลในเลือดอาจสูงขึ้น
- ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง อาจสร้างปัญหาให้กับผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัด หญิงตั้งครรภ์ที่กำลังจะคลอดบุตร หรือผู้มีปัญหาโรคเลือด หากเสริมน้ำมันปลาปริมาณมากเกินไป อาจทำให้แผลหายช้า เกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
- ท้องอืด อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน
- การรับประทานน้ำมันปลาในขนาดสูงมากๆ อาจทำให้ร่างกายมีกลิ่นปลาได้
ทั้งนี้ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้น้ำมันปลาแต่ละยี่ห้อแตกต่างกัน ดังนั้นหากเกิดอาการไม่พึงประสงค์อาจลองเปลี่ยนยี่ห้อ


ขอบคุณข้อมูลจาก
 
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/anatomy/dha.htm 
http://www.gpo.or.th/rdi/html/t15-t16.htm
http://elib-online.com/doctors/food_fish3.html 
http://www.gconnex.com/ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น