
เครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ เป็นเครื่องที่ใช้สำหรับกรองน้ำฝนให้เป็นน้ำดื่ม สามารถกรองตะกอนและเชื้อโรคในน้ำฝน ทำให้น้ำฝนสะอาดบริสุทธิ์ มีคุณภาพตามมาตรฐานน้ำดื่มสากล ใช้ดื่มได้โดยไม่ต้องต้ม ใช้งานง่าย ไม่ต้องเปลี่ยนไส้กรอง ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ไฟฟ้า ไม่ใช้น้ำประปา จ่ายเงินเพียงครั้งเดียว มีน้ำสะอาดดื่มได้ตลอดไป ไม่ต้องจ่ายเพิ่มอีก
เครื่อง กรองน้ำฝน พรพิรุณ เป็นเครื่องกรองน้ำ ระบบทรายกรองธรรมชาติ (Slow Sand Filter) ซึ่งเป็นระบบที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ตัวเครื่องทำด้วย ท่อ พีวีซี. อย่างดี ชนิดท่อน้ำดื่ม ตามมาตรฐานกระทรวงอุตสาหกรรม(มอก.) วัสดุกรองเป็นทรายธรรมชาติ ที่ผ่านการคัดขนาด และทำความสะอาดอย่างดี สามารถใช้งานได้ตลอดไป โดยไม่ต้องเปลี่ยน ไม่ต้องใช้สารเรซิ่น ไม่ต้องใช้สารคาร์บอน ไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ และไม่ต้องใช้ไส้กรองอื่นใด ที่ทำให้ต้องเสียเงินไปซื้อมาเปลี่ยนเป็นประจำ ดังเช่นเครื่องกรองน้ำทั่วไปอีก
เครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ ไม่ต้องใช้ปั๊ม ไม่ต้องใช้หลอด ยูวี. จึงไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องซ่อมปั๊ม ไม่ต้องเปลี่ยนหลอด แต่สามารถผลิตน้ำที่มีคุณภาพ ตามมาตรฐานน้ำดื่มสากลได้
เครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ ติดตั้งง่าย ไม่ต้องใช้ช่างต่อท่อประปา เพราะใช้ตะปูเกลียวเพียงตัวเดียว เพื่อยึดตัวเครื่องติดกับผนังเท่านั้น
เครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ สามารถกรองน้ำได้ประมาณ 1 ลิตร/ชั่วโมง มีช่องสำหรับเก็บน้ำที่กรองแล้ว จุประมาณ 3.5 ลิตร สามารถผลิตน้ำดื่มได้เพียงพอสำหรับบ้านที่มีคนอยู่ 5-6 คน ได้อย่างสบายๆ
เครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ ใช้งานง่าย เพียงแต่ตักน้ำฝนจากโอ่ง มาเทใส่ท่อข้างซ้าย น้ำก็จะซึมผ่านทรายกรอง มาขึ้นที่ท่อข้างขวาโดยอัตโนมัติ เมื่อต้องการดื่มน้ำ ก็เปิดก๊อกรองจากเครื่องโดยตรง
เครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ นอกจากจะใช้กรองตะกอนและสิ่งสกปรก ที่อยู่ในน้ำฝนได้แล้ว เมื่อใช้งานติดต่อกันไปเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน เครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ จะสามารถกรองเชื้อโรคที่อยู่ในน้ำฝนได้ ท่านสามารถนำน้ำที่ผ่านการกรองไปดื่มได้โดยไม่ต้องต้ม
การบำรุงรักษา ไม่ต้องทำอะไรเลย ถ้าท่านไม่ตักเอาตะกอนก้นโอ่งลงไปกรองด้วย ท่านสามารถใช้เครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ ไปได้นานเกิน 10 ปี โดยหน้าทรายกรองไม่อุดตัน การล้างหน้าทรายกรองที่อุดตัน ก็สามารถทำเองได้ไม่ยาก รายละเอียดการใช้งาน มีอยู่ในหนังสือคู่มือเล่มเล็กๆ ที่ให้มาพร้อมกับเครื่อง
คุณลักษณะของเครื่องกรองน้ำโดยประมาณ :
- อัตราการกรอง 1 ลิตร / ชั่วโมง
- จุน้ำกรองแล้วได้ 3.5 ลิตร
- ขนาดกว้าง 27 ซม.
- หนา (ไม่รวมก๊อก) 14 ซม.
- สูง 98 ซม.
- น้ำหนัก 20 กก.
ราคา 1,800 บาท
คู่มือเครื่องกรองน้ำฝน พรพิรุณ

ท่อ พีวีซี. รูปตัว ”U” 1 อัน
ทรายกรองน้ำฝน 14 กก.
ก๊อกน้ำบอลล์วาวล์ 1 อัน
เหยือกน้ำพลาสติก 1 อัน
ฝาครอบพลาสติก 1 อัน
ตะปูเกลียว+แป้นยาง ใช้ยึดผนัง 1 อัน
ตะปูเกลียวตัวเล็ก ใช้ยึดฝาครอบ 1 อัน
หนังสือคู่มือ (ที่ถืออยู่นี้) 1 เล่ม
1.การเลือกที่ตั้งเครื่องกรองน้ำฝน
ที่ตั้งเครื่องกรองน้ำฝน ควรจะอยู่ในบริเวณที่สะดวกกับการใช้งาน เช่น บริเวณห้องอาหาร ห้องครัว หรือบริเวณที่ตั้งโอ่งเก็บน้ำฝน ควรตั้งโดยตรงกับพื้นและอยู่ชิดผนัง.
2.การติดตั้งเครื่องกรองน้ำฝน
ให้ติดตั้งก๊อกน้ำเข้ากับเครื่องกรองน้ำฝนก่อน โดยใช้มือหมุนเข้าไป ไม่ควรใช้ประแจขัน แล้วจึงติดตั้งเครื่องกรองน้ำฝน โดยใช้ตะปูเกลียวที่มีแป้นยาง ยึดเครื่องกรองน้ำฝนติดกับผนัง อย่าให้เครื่องกรองน้ำฝนล้มได้ การขันตะปูเกลียว จะต้องขันด้วยความระมัดระวัง อย่าให้หัวตะปูเกลียวกดแป้นยางมากเกินไป ขันเพียงให้หัวตะปูเกลียวแตะแป้นยางก็พอแล้ว มิฉะนั้นอาจทำให้รอยเชื่อม พีวีซี.แตกหักได้.
3.การบรรจุทรายใส่เครื่องกรองน้ำฝน
เมื่อยึดเครื่องกรองน้ำฝนติดกับผนังได้มั่นคงแล้ว ตักน้ำสะอาดประมาณ 5 ลิตร ใส่ในเครื่องกรองน้ำฝน แล้วจึงใช้ถ้วยน้ำตักทราย ใส่ในเครื่องกรองน้ำฝน โดยใส่สลับข้างกันไปมา ท่อข้างขวา 1 ถ้วย ท่อข้างซ้าย 1 ถ้วย ค่อยๆใส่ เติมให้ทรายเต็มขึ้นมา เฉลี่ยให้ทรายทั้ง 2 ท่อมีระดับสูงเท่ากัน และอยู่ต่ำจากก๊อกน้ำประมาณ 10 ซม.
4.การล้างละอองทราย
ถึงแม้ทรายจะถูกล้างมาอย่างดีแล้ว แต่ในระหว่างการขนส่ง เมล็ดทรายจะเสียดสีกันเอง ทำให้เกิดละอองทราย เมื่อบรรจุทรายลงในเครื่องกรองน้ำฝน จะสังเกตเห็นว่าน้ำขุ่นหรือมีฟองสีน้ำตาลลอยอยู่ จึงควรล้างทรายที่บรรจุลงในเครื่องกรองน้ำแล้วอีกยก โดยใช้น้ำสะอาดเติมลงในท่อข้างที่ไม่มีก๊อกให้เต็ม ปิดก๊อกน้ำ รอให้น้ำซึมผ่านทรายขึ้นมาในท่อข้างที่มีก๊อกจนเต็ม โดยคอยเติมน้ำในท่อข้างที่ไม่มีก๊อกให้เต็มอยู่เสมอ ถ้ามีฟองสีน้ำตาลลอยอยู่ ให้ช้อนออก เปิดก๊อกน้ำเต็มที่ ให้น้ำไหลแรงๆ เพื่อพาเอาทรายที่อาจตกค้างอยู่ในก๊อกออกไป ปล่อยน้ำจนหมดแล้วปิดก๊อกน้ำ ทำการล้างทรายเช่นนี้อีกสัก 3-4 ครั้ง ทรายก็จะสะอาด เอาฝาครอบปิดปากท่อข้างที่มีก๊อก ขันตะปูเกลียวตัวเล็ก.
5.การบ่มทราย
การบ่มทรายเป็นการทำให้ทรายธรรมดา กลายเป็นทรายที่กรองเชื้อโรคได้ การบ่มทรายสามารถทำได้ โดยการปล่อยน้ำฝนให้ไหลซึมผ่านทรายที่อยู่ในเครื่องกรองน้ำฝน จากข้างที่ไม่มีก๊อกน้ำ ไปสู่ข้างที่มีก๊อกน้ำ ติดต่อกันเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ในอัตรา 5 ซีซี./นาทีในสัปดาห์แรก และค่อยๆเพิ่มขึ้นถึง 20 ซีซี./นาทีในสัปดาห์สุดท้าย
หากจะใช้เครื่องกรองน้ำฝนทันที โดยไม่ทำการบ่มทรายตามวิธีดังกล่าวข้างต้น ควรนำน้ำที่กรองได้ไปต้มก่อนดื่ม เพราะทรายยังกรองเชื้อโรคไม่ได้ ต่อเมื่อใช้เครื่องกรองน้ำฝนติดต่อกันไปประมาณ 3 เดือน ทรายจึงจะสามารถกรองเชื้อโรคได้เหมือนทรายที่บ่มแล้ว.
6.การกรองน้ำ
ตักน้ำฝนที่ต้องการกรอง 1 เหยือก(ประมาณ 2 ลิตร) เทใส่ลงในท่อข้างที่ไม่มีก๊อกน้ำ น้ำฝนจะค่อยๆซึมผ่านทราย มาขึ้นที่ท่อข้างที่มีก๊อกน้ำ การเทน้ำฝนเข้าไปในเครื่องกรองน้ำฝน ไม่ควรเทครั้งละหลายๆเหยือก แต่ละเหยือกควรเว้นระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง น้ำที่กรองได้จะค่อยๆสะสมเพิ่มขึ้นในท่อข้างที่มีก๊อก เมื่อต้องการใช้น้ำดื่ม ก็สามารถเปิดรองจากก๊อกนี้ได้โดยตรง.
7.การล้างทรายกรอง
การใช้เครื่องกรองน้ำฝนโดยปกติแล้ว ถ้าใช้กรองน้ำฝนที่ใส ปราศจากตะกอน จะสามารถใช้เครื่องกรองน้ำฝนได้นานกว่า 10 ปี โดยไม่ต้องล้างทรายกรอง การล้างทรายกรองควรทำต่อเมื่อทรายกรองเกิดการอุดตัน หรือเครื่องกรองน้ำฝนกรองน้ำได้ในอัตราที่น้อยกว่า 1 ลิตรต่อชั่วโมง
การล้างทรายกรอง ไม่ควรเอาทรายทั้งหมดออกมาล้าง เพราะการอุดตัน เกิดขึ้นเฉพาะส่วนบนของทรายในท่อด้านที่ไม่มีก๊อก การเอาทรายส่วนนี้หนาประมาณ 10 ซม.ออกมาล้าง ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ก่อนนำทรายออกมา ควรใช้ผ้าถูสิ่งสกปรก ที่อยู่ภายในท่อด้านที่ไม่มีก๊อกส่วนที่อยู่เหนือทราย ให้สะอาดก่อน แล้วเติมน้ำให้เต็ม (ท่อด้านที่มีก๊อกก็เติมน้ำให้เต็มด้วย) โดยใช้น้ำที่สะอาด ใช้สายยางทำกาลักน้ำ ดูดเอาทรายส่วนที่ต้องการล้างออกมาพร้อมกับน้ำสกปรก ใส่ลงในถังน้ำ ล้าง ทรายในถังน้ำโดย รินน้ำสกปรกทิ้งไป ระวังอย่าให้ทรายไหลตามน้ำออกไป ใส่น้ำสะอาด และใช้มือทั้งสองข้างกอบทรายขึ้นมาถูในมือ ให้สิ่งสกปรกหลุดออกจากทราย รินน้ำสกปรกทิ้งไป เติมน้ำสะอาดใส่ถังล้างอีก ทำเช่นนี้หลายๆครั้งจนทรายสะอาด จึงนำทรายใส่กลับไปในเครื่องกรองน้ำฝนอย่างเดิม และทำการบ่มทรายตามวิธีที่กล่าวในข้อ5 แต่ใช้เวลาบ่มเพียงครึ่งเดียวก็ใช้ได้.
สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และหาซื้อได้ที่ : -
พรพิรุณ 16 / 29 ซอยธนินทร17 ถนนวิภาวดีรังสิต35 เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ โทร. 02 536 1632
อยากได้ค่ะ
ตอบลบตอนแรกคิดว่าไม่มีอะไรยุ่งยากแต่อ่านไปสักพักความยากเพียบเลยค่ะ
ตอบลบราคาก็พอจับต้องได้
ตอบลบ