หากย้อนเวลากลับไปในช่วงคริศต์ศักราช 1923 จะพบว่า... โลกนี้ได้กำเนิดนักวิทยาศาสตร์ท่านหนึ่ง ผู้ซึ่งมีบทบาาทสำคัญในการค้นพบ "สารโดปามีน" สารเคมีสำคัญในร่างกายที่มีบทบาทต่อการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก !!

Arvid Carlsson
Arvid Carlsson เกิดเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ.1923 ที่เมือง Uppsala ประเทศสวีเดน เขาเป็นผู้ผู้ค้นพบสาร
โดปามีนเมื่อช่วงทศวรรษ 1950 และยังพบว่าการให้สารตั้งต้นของโดปามีน คือ L-dopa สามารถรักษาอาการของ
โรคพาร์กินสันได้ จากผลงานนี้เองทำให้ Arvid Carlsson ได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 2000

โครงสร้างของโดพามีน
โดปามีน (dopamine) เป็นสารเคมีที่พบตามธรรมชาติในร่างกายซึ่งสังเคราะห์โดยเนื้อเยื่อประสาทและต่อมหมวกไตเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที้เป็นทั้งสารสื่อประสาทและฮอล์โมน นอกจากนี้ยังเป็นสารตั้งต้นของการสังเครา์ะห์ นอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine หรือ noradrenaline) และ เอพิเนฟริน (epinephrine หรือ adrenaline) |
โคปามีน (dopamine) ในสมองที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทจะกระตุ้นโดปามีนรีเซปเตอร์ (dopamine recetor) ในระบบประสาทซิมพาเทติค (sympathetic nervous system) ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น นอกจากนี้โคปามีนยังมีบทบาทเป็นฮอร์โมนที่หลั่งโดยไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เพื่อยับยั้งการหลั่่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมพิทุอิทารี่ส่วนหน้า (anterior lobe of the pituitary) แต่เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนที่ช่วยในการเจริญเติบโต (growth hormone) |
บทบาทของโดปามีน (dopamine) จะทำหน้าที่ในการควบคุมอารมณ์ การเรียบเรียงความนึกคิด การทำหน้าที่ของสมองในกาีรควบคุมการเคลื่อนไหว ซึ่งถ้ามีการเสียสมดุลระหว่างแอซิติลโคลีน (acetylcholine) กับ โดปามีน (dopamine) จะทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) ที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งเพศชายและหญิง เนื่องจากการขาดสารโดปามีน (dopamine) ในสมองเพราะมีการเสื่อมและตายของเซลล์สมองในตำแหน่งที่สร้างสารโดปามีน |
![]() |
ภาพการสังเคราะห์สารสื่อประสาทกลุ่มแคททีโดลามีน (The catecholamines)
โดปามีนเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์พึงพอใจ ความปิติยินดี ความรักใคร่ชอบพอ จากการศึกษาทดลองในหนู พบว่าเมื่อทำให้หนูเกิดความพึงพอใจ ระดับของโดปามีนจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งในขณะที่โดปามีนถูกหลั่งออกมาจากสมอง จะทำให้เกิดความสุข เรียกว่า reward circuit หากถูกกระตุ้นด้วยพฤติกรรมซ้ำ ๆ ก็จะหลั่งโดปามีนออกมาตามปกติ แต่หากไม่ถูกกระตุ้นหรือทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่กิจกรรมเดิม สารโดปามีนก็จะหยุดทำงาน ทำให้รู้สึกหงุดหงิด โมโหหรือเซื่องซึมได้
![]()
ด้วยเหตุนี้บางครั้งจึงมีการจัด โดปามีนเป็นสารเคมีแห่งรัก (Chemicals of love) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกหรือจับคู่ ซึ่งมีผลงานวิจัยอ้างอิงจากมหาวิทยาลัยอีโมรี ได้ทำการทดลองโดยฉีดโดปามีนใส่หนูตัวเมียทึ่เอามาจากหนูตัวผู้ตัวหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าหนูตัวเมียเลือกจับคู่กับหนูตัวผู้ที่เป็นเจ้าของโดปามีนนี้จากกลุ่มหนูทั้งหมดที่อยู่รวมกัน
![]()
นอกจากนี้แล้วระดับโดปามีนส่วนสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย หากร่างกายมีปริมาณโดปามีนน้อยเกินไป จะทำให้เกิดเป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งโรคทางประสาทที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยจะมีอากรสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวช้า
![]()
โรคพาร์กินสันนั้นเกิดจากการเสื่อม และตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน จนไม่สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย การตายของเซลล์กลุ่มนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติในผู้สูงอายุ แต่ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน พบว่ามีเซลล์ตายมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมด
![]()
และในทางกลับกัน หากร่างกายมีสารโดปามีนในสมองมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมองส่วนฟรอนทัล ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ ความจำ ก็จะทำให้เกิดอาการป่วยทางจิต ซึ่งผู้ป่วยโรคจิตเภทจะมีระดับโดปามีนในสมองมากกว่าคนปกติ
![]()
ดังนั้นเมื่อโดปามีน ส่งผลกระทบต่อการควบคุมอารมณ์ของเราเช่นนี้ เราจึงควรรรับประทานอาหารที่อุดมด้วยโปรตีน เนื่องจากโดปามีน ผลิตได้จากกรดอะมิโนชนิดไทโรซีน เช่น รับประทานพวกเนื้อสัตว์ต่าง ๆ นม ไข่ ถั่วเหลือง เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายได้รับสารโดปามีนอย่างเหมาะสม ไม่มาก หรือน้อยจนเกินไปค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
-สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้
- http://vcharkarn.com
- ศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต (http://www.vachiraphuket.go.th)
- สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลโย (สสวท.) (http://www.ipst.ac.th)
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น