สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่อยู่ในดวงใจของปวงชนชาวไทย แม้แต่สิ่งของเครื่องใช้ ตลอดจนช้างพาหนะของพระองค์ก็เป็นที่รู้จักของคนไทยมากกว่าบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยอย่างนับไม่ถ้วน
เริ่มจากพระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง ซึ่งเป็นปืนนกสับยาว ๔ คืบ (ประมาณ 235 เซ็นติเมตร ) ปืนนกสับนี่เป็นปืนคาบชุด ( Matchlock ) ไม่ใช่ปืนคาบศิลา ( Flintntlock ) เนื่องจากปืนนกสับนี่เป็นปืนรุ่นก่อนปืนคาบศิลาร่วม ๒๐๐ ปีเลยที่เดียว
นอกจากนี้ยังมี พระแสงดาบคาบค่าย,พระมาลาเบี่ยง,พระแสงของ้าว,เจ้าพระยาแสนพลพ่าย,พระคชาธารเจ้าพระยาปราบหงสาวดี ที่เป็นที่รู้จักของคนไทยเป็นอย่างดี ทั้งจากหนังสือและภาพยนต์
แต่เรื่องที่ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน ทั้งในหนังสือและในภาพยนต์ คือเรื่องที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงเสนอต่อจักรพรรดิเสินจงแห่งราชวงค์หมิง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๓๕ (ปีเดียวกันที่พระองค์ทรงฟันพระมหาอุปราชสิ้นพระชนม์ในการกระทำยุทธหตัถี ) ว่าพระองค์จะทรงนำทัพเรือของกรุงศรีอยุธยาไปโจมตีเกาะญี่ปุ่นเพื่อช่วยจีนทำศึกกับทางญี่ปุ่นในขณะนั้น หลักฐานทางประวัติศาสตร์นี่ถูกจารึกอยู่ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ของจีนและเกาหลี ซึงคุณประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี
ได้ค้นคว้ามานำเสนอต่อเบื้องพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เนื่องในโอกาสการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง ความสำคัญของรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในประวัติศาสตร์ไทย
เรื่อง เริ่มต้นใน พ.ศ. ๒๑๓๕ โชกุนโตโยโตมิ ฮิเดโยชิ แห่งญี่ปุ่นกรีฑาทัพจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ นาย ข้ามทะเลมาโจมตีเกาหลีซึ่งเป็นรัฐบรรณาการของจีน เกาหลีได้ขอความช่วยเหลือจากจีนและจีนก็ได้ส่งกองทัพไปปราบญี่ปุ่นและสามารถเอาชนะญี่ปุ่นได้ ญี่ปุ่นได้ถอนกองทัพกับไปเลียแผลแห่งความพ่ยแพ้อยู่ ๔ ปีและในปี พ.ศ.๒๑๓๙ โชกุนโตโยโตมิ ฮิเดโยชิ ก็ได้กรีฑาทัพขนานใหญ่ มาโจมตีเกาหลีอีกครั้งหนึ่งแต่สงครามครั้งนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเคยและต้องล้มเลิกทันทีเมื่อได้รับทราบข่าวการอสัญกรรมของฮิเดโตชิในปี พ.ศ. ๒๑๔๐ นั้นเอง
โชกุนโตโยโตมิ ฮิเดโยชิ

องค์จักรพรรดิเสินจง(ว่านลี่)
ในช่วงเวลาดังกล่าวจากเอกสารจดหมายเหตุฉับบหลวงของราชวงค์หมิงในบรรพว่าด้วย สยาม บันทึกไว้่ว่า
เมื่อปีที่ ๖ แห่งรัชศกกว่านหลี ( ค.ศ. ๑๕๗๘ / พ.ศ.๒๑๒๑ )(สยาม)ได้จัดส่งราชฑูตมาถวายเครื่องราชบรรณาการปีที่ ๒๐ (ค.ศ. ๑๕๙๑ / พ.ศ.๒๑๓๕ )ยี่ปุ่นได้เข้าตีเกาหลีจนเมืองแตก สยามได้อาสาขอยกทัพไปลอบโจมตีญี่ปุ่นโดยตรง เพื่อมุ่งหมายกดดันญี่ปุ่นทางแนวหลัง สือซิงซึงเป็นเสนาบดีในส่วนกลางเห็นด้วย แต่ เซียวเอี้ยน ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารกวางตุ้งกว่างซี คัดค้าน เรื่องจึงยุติเพียงเท่านี้
และยังมีจดหมายเหตุอีกหลายฉบับได้กล่าวถึงเรื่องสยามอาสาไปรบญี่ปุ่นได้ปรากฎรายละเอียดในจดหมายเหตุประจำรัชกาลจักรพรรดิเสินจงแห่งราชวงค์หมิง บรรพ ๒๕๓ และ ๒๕๖ ซึ่งเป็นหลักฐานที่มีความแม่นยำสูงแต่ว่าข้อความบางส่วนได้ขาดหายไป จดหมายเหตุดังกล่าวบันทึกไว้ดังนี้
เมื่ิอวันที่ ๑๓ เดือน ๑๐ ปีที่ ๒๐ (ค.ศ. ๑๕๙๒ / พ.ศ. ๒๑๓๕ ) แห่งรัชศกว่านหลี ราชฑูลแห่งประเทศสยามจำนวน ๒๗ นาย ได้เดินทางไปนครหลวงเพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ องค์จักรพรรดิทรงพระราชทานหมวกและสายคาดเอวตามธรรมเนียม
เมื่อวันที่ ๖ เดือนอ้าย ปีที่ ๒๑ (ค.ศ. ๑๕๙๓ / พ.ศ. ๒๑๓๖ )แห่งรัชศกว่านหลี เซียนเอี้ยน ผู้ตรวจราชการซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารประจำมณฑลกวางตุ้งกว่างซี ได้กราบบังคมทูลว่า สยามตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกไกลโพ้นห่างญี่ปุ่นหมื่นลี้เศษ เมื่อไม่นานมานี้มีฑูลบรรณาการมาขออาสาต่อทางกลาโหมขอนำกองทัพช่วยทำศึกสงคราม ทางกลาโหมมีคำสั่งตอบรับโดยให้ส่งกองทัพไปโจมตีญี่ปุ่นได้โดยตรง แต่เมื่อพิจารณาถึงเส้นทางทะเลอันไกลโพ้นเหลือประมาณเช่นนี้ คนอี๋(หมายถึง คนสยาม ) ยากจะหยั่งรู้ได้ จึงได้ขอให้ทางกลาโหมระงับคำสั่งเพื่อพิจารณาแล้วแจ้งผลมาด้วย อย่างไรก็ดีโจรพวกนี้ทั้งปล้นสะดมชั่วช้าสามานย์และเจ้าเลห์ ได้กระทำการข่มเหงรังแกประเทศอื่นๆ ขณะนี้ก็เข้ายึดเอาเกาหลี อีกโดยมุ่งหมายจะรุกรานแผ่นดินจีน จึงทำให้ต้องยกทัพหลวงไปช่วยเหลือ อันฑูลบรรณาการสยามมีความโกรธแค้นต่อการกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรมนี้จึงได้แสดงความจงรักภักดีโดยอาสายกทัพไปช่วยรบ และแสดงถึงเมตตาธรรมอันมีต่อเพื่อนบ้าน ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงขออาสาไปประเทศนั้น ทั้งนี้ในทางหนึ่งจะเป็นการเสริมสร้างกำลังใจแก่ประเทศที่อยู่ห่างไกล และในอีกทางหนึ่งก็จะสร้างแรงกดดันแก่เหล่าโจรเตี้ยเพราะการทำศึกสงครามหลายด้านย่อยมีการพลาดพลั้งอยู่บ้าง ยิ่งกว่านั้น อันความยิ่งใหญ่ของประเทศจีนจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศอื่น ดังนั้น
องค์จักรพรรดิเสินจงจึงทรงมีพระบรมราชโองการให้ชมเชยความจงรักภักดีและเมตตาธรรมเช่นนี้ แต่เรื่องนี้มีความสำคัญมาก จึงขอให้รอฟังผลการพิจารราของผู้บัญชาการทหารก่อน เมื่อได้รับหนังสือแจ้งแล้ว จึงจะสามารถประกาศ.....แสดงให้เห็นชัดแจ้ง ขณะนั้นผู้บัญชาการทหารได้ปกครองดินแดนกันดารเหล่านั้นอยู่เรื่องของประเทศทางทะเลจึงย่ิยจะทราบดี สมควรจะให้พิจารณา....ขอให้ทางกลาโหมจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปและกระทำตามคำสั่งเมื่อถึงประเทศนั้นแล้ว ขอให้กำชับ...ส่งคำสั่ง สมควรให้กษัตริย์แห่งสยามปฎิบัติตามพระราชโองการ กระทำการปรับปรุงตระเตรียมทัพเรือแล้วถวายสาสน์กราบบังคมทูลตอบและรับคำสั่ง...ถึงกำหนดให้ปฎิบัติตามที่ขอพระบรมราชานุญาตให้ปฎิบัติได้
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยในสมัยนั้นมีลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ก็เป็นระบบรัฐบรรณาการซึ่งบางครั้งก็ใกล้ชิด บางครั้งก็ห่างเหินกันบ้างตามแต่เหตุการณ์และเงื่อนไขของแต่ล่ะยุคสมัย นอกนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนพลเมืองของทั้งสองประเทศซึ่งมีมาแต่โบราณเช่นกัน
เอกสารโบราณของจีนมีหลายรูปแบบ โดยทั่งไปแบ่งออกเป็น ๑๕ ประเภทด้วยกัน แต่ที่คุณประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธีได้นำอ้างอิงเสนอต่อเบื้องพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ครั้งนั้นมี ๓ประเภทคืิอ
๑.เจิ้งสื่อ เป็นจดหมายเหตุฉบับหลวงประจำราชวงค์ เป็นเอกสารที่ยึดถือกันเป็นประเพรีที่ราชสำนักจีนทุกราชวงค์มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องให้จักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องราวที่เกี่ยวกับราชวงค์ที่เพิ่งจะหมดอำนาจไป
๒.สือลู่ เป็นจดหมายเหตุประจำรัชกาล จักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องราวที่เกี่ยวกับรัชกาลที่เพิ่งจะสิ้นสุดลง เอกสารประเภทนี้จะมีรายละเอียดมาก บันทึกแบบเรียบเรียงลำดับวัน /เดือน / ปี ไปเลย
๓.เอกสารของภาคเอกชน มีหลายรูปแบบ
ภาคผนวก
จีน - ไทย จับมือทางทหารมาแต่สมัยอยุธยา
ในด้านประวัติศาสตร์พันธมิตรทางการทหารจีน - ไทย ยังมีมาอย่างยาวนาน โดยแบ่งเป็นช่วงยุคสมัย ดังนี้
1. สมัยวั่นลี่ที่ 6 (ค.ศ. 1573 - 1620/พ.ศ. 2116-2163) ในยุคราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644/พ.ศ.1911-2187) มีโจรสลัดจีนชื่อว่า หลิน เต้าเฉียง มาที่เมืองปัตตานี แต่ถูกสยามปราบ จึงกลับไปปล้นสดมภ์ที่มณฑลก่วงตง (กวางตุ้ง) ในขณะนั้นสยามอาสาช่วยจีนปราบโจรสลัด
2. ยุคสมเด็จพระมหาธรรมราชา (ค.ศ. 1583/พ.ศ. 2126) พม่ายกทัพรุกรานเมืองจีนหลายครั้ง จนล่วงมาถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ค.ศ. 1591/พ.ศ. 2134 ตรงกับสมัยวั่นลี่ที่ 19 ของจีน) สยามอาสาร่วมมือกับจีนตีพม่า ทว่า ต่อมากลับไม่มีความคืบหน้าในการร่วมมือใดๆ
3. ยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ค.ศ. 1593/พ.ศ. 2136) สยามมีความสามารถในการเดินเรือเป็นอย่างมาก ขณะนั้นญี่ปุ่นเข้าตีเกาหลี สยามจึงแสดงความจำนงแก่จีน จะส่งกำลังโจมตีญี่ปุ่น แต่ฝ่ายเสนาบดีของจีน มณฑลก่วงตง (ในขณะนั้นเป็นเมืองที่ดูแลประเทศแถบเอเชียอาคเนย์) ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่มั่นใจในสมรรถนะการรบของสยามที่จะต้องไปรบกับญี่ปุ่นซึ่งระยะ ทางไกลมาก (อ้างอิงจาก เอกสารเกาหลี)
4. สมัยนายกรัฐมนตรี พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปีค.ศ. 1975/พ.ศ. 2518 กองทัพคอมมิวนิสต์ของกัมพูชาและเวียดนามรบชนะสหรัฐอเมริกา ท่านคึกฤทธิ์เกรงว่าไทยจะมีปัญหาตามมา กอปรทั้งในยุคนั้นจีนมีอำนาจเหนือกัมพูชาและเวียดนาม ท่านจึงขอเปิดความสัมพันธ์กับจีนเมื่อวันที่ 1 ก.ค.
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
คุณ โกวิท วงค์สุรวัฒน์
นิตยสาร ต่วยตูน พิเศษ
บุคคลต้นเรื่อง
คุณประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี

อ.ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
เมื่ิอวันที่ ๑๓ เดือน ๑๐ ปีที่ ๒๐ (ค.ศ. ๑๕๙๒ / พ.ศ. ๒๑๓๕ ) แห่งรัชศกว่านหลี ราชฑูลแห่งประเทศสยามจำนวน ๒๗ นาย ได้เดินทางไปนครหลวงเพื่อถวายเครื่องราชบรรณาการ องค์จักรพรรดิทรงพระราชทานหมวกและสายคาดเอวตามธรรมเนียม
เมื่อวันที่ ๖ เดือนอ้าย ปีที่ ๒๑ (ค.ศ. ๑๕๙๓ / พ.ศ. ๒๑๓๖ )แห่งรัชศกว่านหลี เซียนเอี้ยน ผู้ตรวจราชการซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารประจำมณฑลกวางตุ้งกว่างซี ได้กราบบังคมทูลว่า สยามตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกไกลโพ้นห่างญี่ปุ่นหมื่นลี้เศษ เมื่อไม่นานมานี้มีฑูลบรรณาการมาขออาสาต่อทางกลาโหมขอนำกองทัพช่วยทำศึกสงคราม ทางกลาโหมมีคำสั่งตอบรับโดยให้ส่งกองทัพไปโจมตีญี่ปุ่นได้โดยตรง แต่เมื่อพิจารณาถึงเส้นทางทะเลอันไกลโพ้นเหลือประมาณเช่นนี้ คนอี๋(หมายถึง คนสยาม ) ยากจะหยั่งรู้ได้ จึงได้ขอให้ทางกลาโหมระงับคำสั่งเพื่อพิจารณาแล้วแจ้งผลมาด้วย อย่างไรก็ดีโจรพวกนี้ทั้งปล้นสะดมชั่วช้าสามานย์และเจ้าเลห์ ได้กระทำการข่มเหงรังแกประเทศอื่นๆ ขณะนี้ก็เข้ายึดเอาเกาหลี อีกโดยมุ่งหมายจะรุกรานแผ่นดินจีน จึงทำให้ต้องยกทัพหลวงไปช่วยเหลือ อันฑูลบรรณาการสยามมีความโกรธแค้นต่อการกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรมนี้จึงได้แสดงความจงรักภักดีโดยอาสายกทัพไปช่วยรบ และแสดงถึงเมตตาธรรมอันมีต่อเพื่อนบ้าน ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงขออาสาไปประเทศนั้น ทั้งนี้ในทางหนึ่งจะเป็นการเสริมสร้างกำลังใจแก่ประเทศที่อยู่ห่างไกล และในอีกทางหนึ่งก็จะสร้างแรงกดดันแก่เหล่าโจรเตี้ยเพราะการทำศึกสงครามหลายด้านย่อยมีการพลาดพลั้งอยู่บ้าง ยิ่งกว่านั้น อันความยิ่งใหญ่ของประเทศจีนจำเป็นด้วยหรือที่จะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศอื่น ดังนั้น
องค์จักรพรรดิเสินจงจึงทรงมีพระบรมราชโองการให้ชมเชยความจงรักภักดีและเมตตาธรรมเช่นนี้ แต่เรื่องนี้มีความสำคัญมาก จึงขอให้รอฟังผลการพิจารราของผู้บัญชาการทหารก่อน เมื่อได้รับหนังสือแจ้งแล้ว จึงจะสามารถประกาศ.....แสดงให้เห็นชัดแจ้ง ขณะนั้นผู้บัญชาการทหารได้ปกครองดินแดนกันดารเหล่านั้นอยู่เรื่องของประเทศทางทะเลจึงย่ิยจะทราบดี สมควรจะให้พิจารณา....ขอให้ทางกลาโหมจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปและกระทำตามคำสั่งเมื่อถึงประเทศนั้นแล้ว ขอให้กำชับ...ส่งคำสั่ง สมควรให้กษัตริย์แห่งสยามปฎิบัติตามพระราชโองการ กระทำการปรับปรุงตระเตรียมทัพเรือแล้วถวายสาสน์กราบบังคมทูลตอบและรับคำสั่ง...ถึงกำหนดให้ปฎิบัติตามที่ขอพระบรมราชานุญาตให้ปฎิบัติได้
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยในสมัยนั้นมีลักษณะความสัมพันธ์ส่วนใหญ่ก็เป็นระบบรัฐบรรณาการซึ่งบางครั้งก็ใกล้ชิด บางครั้งก็ห่างเหินกันบ้างตามแต่เหตุการณ์และเงื่อนไขของแต่ล่ะยุคสมัย นอกนั้นก็เป็นความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนพลเมืองของทั้งสองประเทศซึ่งมีมาแต่โบราณเช่นกัน
เอกสารโบราณของจีนมีหลายรูปแบบ โดยทั่งไปแบ่งออกเป็น ๑๕ ประเภทด้วยกัน แต่ที่คุณประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธีได้นำอ้างอิงเสนอต่อเบื้องพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ครั้งนั้นมี ๓ประเภทคืิอ
๑.เจิ้งสื่อ เป็นจดหมายเหตุฉบับหลวงประจำราชวงค์ เป็นเอกสารที่ยึดถือกันเป็นประเพรีที่ราชสำนักจีนทุกราชวงค์มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องให้จักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องราวที่เกี่ยวกับราชวงค์ที่เพิ่งจะหมดอำนาจไป
๒.สือลู่ เป็นจดหมายเหตุประจำรัชกาล จักรพรรดิมีพระบรมราชโองการให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตรวบรวมและเรียบเรียงเรื่องราวที่เกี่ยวกับรัชกาลที่เพิ่งจะสิ้นสุดลง เอกสารประเภทนี้จะมีรายละเอียดมาก บันทึกแบบเรียบเรียงลำดับวัน /เดือน / ปี ไปเลย
๓.เอกสารของภาคเอกชน มีหลายรูปแบบ
ภาคผนวก
จีน - ไทย จับมือทางทหารมาแต่สมัยอยุธยา
ในด้านประวัติศาสตร์พันธมิตรทางการทหารจีน - ไทย ยังมีมาอย่างยาวนาน โดยแบ่งเป็นช่วงยุคสมัย ดังนี้
1. สมัยวั่นลี่ที่ 6 (ค.ศ. 1573 - 1620/พ.ศ. 2116-2163) ในยุคราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644/พ.ศ.1911-2187) มีโจรสลัดจีนชื่อว่า หลิน เต้าเฉียง มาที่เมืองปัตตานี แต่ถูกสยามปราบ จึงกลับไปปล้นสดมภ์ที่มณฑลก่วงตง (กวางตุ้ง) ในขณะนั้นสยามอาสาช่วยจีนปราบโจรสลัด
2. ยุคสมเด็จพระมหาธรรมราชา (ค.ศ. 1583/พ.ศ. 2126) พม่ายกทัพรุกรานเมืองจีนหลายครั้ง จนล่วงมาถึงสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ค.ศ. 1591/พ.ศ. 2134 ตรงกับสมัยวั่นลี่ที่ 19 ของจีน) สยามอาสาร่วมมือกับจีนตีพม่า ทว่า ต่อมากลับไม่มีความคืบหน้าในการร่วมมือใดๆ
3. ยุคสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (ค.ศ. 1593/พ.ศ. 2136) สยามมีความสามารถในการเดินเรือเป็นอย่างมาก ขณะนั้นญี่ปุ่นเข้าตีเกาหลี สยามจึงแสดงความจำนงแก่จีน จะส่งกำลังโจมตีญี่ปุ่น แต่ฝ่ายเสนาบดีของจีน มณฑลก่วงตง (ในขณะนั้นเป็นเมืองที่ดูแลประเทศแถบเอเชียอาคเนย์) ไม่เห็นด้วย เนื่องจากไม่มั่นใจในสมรรถนะการรบของสยามที่จะต้องไปรบกับญี่ปุ่นซึ่งระยะ ทางไกลมาก (อ้างอิงจาก เอกสารเกาหลี)
4. สมัยนายกรัฐมนตรี พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ในปีค.ศ. 1975/พ.ศ. 2518 กองทัพคอมมิวนิสต์ของกัมพูชาและเวียดนามรบชนะสหรัฐอเมริกา ท่านคึกฤทธิ์เกรงว่าไทยจะมีปัญหาตามมา กอปรทั้งในยุคนั้นจีนมีอำนาจเหนือกัมพูชาและเวียดนาม ท่านจึงขอเปิดความสัมพันธ์กับจีนเมื่อวันที่ 1 ก.ค.
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
คุณ โกวิท วงค์สุรวัฒน์
นิตยสาร ต่วยตูน พิเศษ
บุคคลต้นเรื่อง
คุณประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี
อ.ประพฤทธิ์ ศุกลรัตนเมธี ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ